รีวิว อูยองอู ทนายอัจฉริยะ

1

รีวิว อูยองอู ทนายอัจฉริยะ

รีวิว อูยองอู ทนายอัจฉริยะ เป็นอีกครั้งที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งออนไลน์อย่างค่าย Netflix ก็เสิร์ฟซีรี่ส์คุณภาพส่งตรงถึงบ้านของเหล่าคอหนังอีกเช่นเคย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน

ที่ผ่านมาได้ปล่อยซีรี่ส์จากแดนกิมจิเรื่อง ‘Extraordinary Attorney Woo อูยองอู ทนายอัจฉริยะ’ แม้ตอนนี้จะดำเนินเรื่องยังไม่จบแต่ก็ได้กระแสตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก ทั้งในโลกโซเชียลต่างก็แชร์มีมต่างๆ หรือกล่าวถึงซีรี่ส์เรื่องนี้กันอย่างหนาตาและหนาหูไปทั่วไทม์ไลน์ บ้างก็กล่าวถึงนักแสดง บ้างก็กล่าวถึงบทบาท บ้างก็กล่าวถึงฉากหรือองค์ประกอบต่างๆ รวมรีวิวซีรี่ย์เกาหลี

2

ที่ผู้จัดได้สร้างขึ้นให้ผู้ชมได้มีอรรถรสในการรับชม แม้แต่ภาวะของโรคออทิสติกสเปกตรัมที่ตัวละครนำของเรื่องอย่าง อูยองอ ก็ยิ่งมีชาวโซเชียลแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่างๆ นานาว่าซีรี่ส์เรื่องนี้ได้สร้างมุมมองให้กับโรคนี้ขึ้นใหม่ว่ามันช่างงดงามและน่าอิจฉากว่าโลกของคนที่มีร่างกายปกติสมบูรณ์เสียอีก Extraordinary Attorney Woo หรืออูยองอู ทนายอัจฉริยะ

เป็นซีรีส์เกาหลีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการไต่ระดับเรตติ้งจาก 0.948% ในอีพีแรกสู่การเป็น 1ใน 20 ซีรีส์จากเคเบิ้ลทีวีที่มีเรตติ้งสูงสุดของเกาหลีใต้ อีกทั้งยังขึ้นอันดับหนึ่งคอนเท็นต์ต่างประเทศของ Netflix ที่มีคนดูมากที่สุดถึง 4 ครั้ง โดยในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซีรีส์เรื่องนี้มีจำนวนการรับชมถึง 61.01 ล้านชั่วโมง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565) 

รีวิว อูยองอู ทนายอัจฉริยะ เนื้อเรื่อง

Extraordinary Attorney Woo  ว่าด้วยเรื่องราวของอูยองอูนิติศาสตร์บัณฑิตเกรียตินิยมจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล แม้จะจบด้วยเกรดเฉลี่ยเกือบเต็ม แต่ก็ไม่มีใครรับเข้าทำงานด้วยภาวะออทิซึมที่เธอเป็นอยู่ จนกระทั่งสำนักงานทนายความฮันบาดาเปิดโอกาสให้เธอเข้าเป็นทนายฝึกหัด 

3

อูยองอูจึงเริ่มฉายแววความเป็นอัจฉริยะจากความจำที่เป็นเลิศ และการคิดนอกกรอบเพื่อช่วยเหลือจำเลยในคดีต่าง ๆ ในขณะเดียวกันซีรีส์ก็พาผู้ชมเข้าไปสัมผัสโลกของผู้มีภาวะออทิสซึมที่ต้องเอาชนะข้อจำกัดในการใช้ชีวิตและอคติของสังคม ผสมเรื่องรักโรแมนติกของชายหนุ่มที่พร้อมจะโอบรับหญิงสาวผู้มีบุคลิกพิเศษในฐานะคนรัก 

ความสำเร็จอย่างท้วมท้นของ Extraordinary Attorney Woo เกิดขึ้นจากความสนุก น่ารัก สดใส และพาให้คนดูได้รู้จักผู้มีภาวะออทิสซึมได้ดียิ่งขึ้น แต่ในโลกของความเป็นจริง มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่คนบุคลิกพิเศษจะฉายแววอัจฉริยะ มีหน้าที่การงาน และมีความสัมพันธ์แบบคนทั่วไป 

อูยองอู ทนายอัจฉริยะ การดำเนินเรื่อง

เรื่องนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับนักแสดงหญิงมากความสามารถอย่าง ‘พัคอึนบิน’ ที่ถ่ายทอดคาแร็กเตอร์ของอูยองอูได้อย่างกะเทาะแก่นของตัวละครเป็นที่สุด หญิงสาวผู้เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางสมองในภาวะออทิสติกสเปกตรัม

ส่งผลให้การแสดงออกทางร่างกายทั้งการพูด ท่าทาง พฤติกรรมต่างๆ แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคมของเธอที่ใครต่างก็มองว่าอูยองอูเป็นตัวตลกเพียงเพราะเธอไม่เหมือนคนอื่น แต่ก็สมดังประโยคที่ว่า “ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง” เพราะถึงแม้ภาวะโรคนี้ที่อูยองอูต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิด ทว่ามันก็ยังมอบสิ่งที่พิเศษให้อูยองอูมีแต่คนอื่นไม่มี นั่นคือการได้เป็นอัจฉริยะเหนือกว่าคนทั่วไปซึ่งมีไอคิวสูงถึง 164

ทำให้ความจำและกระบวนการคิดของเธอนั้นรวดเร็วและหลักแหลมจนกลายเป็นบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ไม่เพียงเท่านั้นอูยองอูได้สอบแข่งขันเนติบัณฑิตและได้ก้าวมาเป็นทนายความของ ‘ฮันบาดา’ สำนักงานกฎหมายระดับประเทศได้สำเร็จ และนี่จึงเป็นก้าวแรกของอูยองอูในฐานะทนายความออทิสแตกคนแรกของเกาหลีใต้ ซีรี่ย์เกาหลีแนะนำ

4

นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมของอูยองอูที่คนให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือการทำแผนชีวิตประจำวันเดิมซ้ำไปมา อย่างเช่นการกินคิมบับซ้ำๆ หรือการพูดถึง ‘วาฬ’ ซ้ำๆ เพราะเธอมีความหลงใหลในตัวมันมาก ซึ่งเป็นการดีที่ซีรี่ส์เรื่องนี้ได้นำเสนอออกมาว่าตัวละครในเรื่องที่ทำงานอยู่ในสำนักงานกฎหมายล้วนสนับสนุนและให้ความอบอุ่นแก่อูยองอูทั้งสิ้น

แม้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้เธอดูตลกหรือแตกต่างจากคนอื่นอยู่มาก แต่พวกเขาก็ไม่เคยมองว่าอูยองอูเป็นตัวขายขำเลยสักนิด พวกเขาพาเธอไปเรียนรู้ในการเข้าสังคมและคอยอยู่เคียงข้างเสมอ จึงทำให้เห็นความสวยงามของตัวละครอื่นๆ

ด้วยว่าภายใต้คำครหาจากผู้คนมากมายที่อาจจะดูถูกความสามารถและหัวเราะเยาะเธออยู่ ก็ยังมีเพื่อนร่วมงานและคู่คิดเป็นแรงผลักดันและเป็นกำลังใจสำคัญเช่นนี้ 

ทำความเข้าใจโรคออทิสติก

“เรื่องนี้เป็นซีรีส์ที่ให้ข้อคิดผู้ปกครองว่าสิ่งต่างๆ ฝึกฝนกันได้” อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย ให้ความเห็น 

เรื่องราวของเขาไม่ต่างจากพ่ออูยองอูในซีรีส์ที่เริ่มค้นพบความผิดปกติเมื่อลูกไม่พูดจนล่วงเลยวัยอันสมควร จนกระทั่งหมอวินิจฉัยว่าลูกชายมีอาการ Autism Spectrum Disorder (ASD) 

ในยุคที่เมืองไทยยังไม่รู้ว่าอาการเหล่านี้คืออะไร กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาศึกษาหาข้อมูล และสร้างโปรแกรมการฝึกจนพัฒนาเป็นหลักสูตรเข้าสู่ระบบการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันได้ช่วยเหลือครอบครัวของผู้มีภาวะออทิสซึมนับหมื่นครอบครัว และลูกชายวัย 35 ปีของอาจารย์ชูศักดิ์สามารถทำงานและมีรายได้เป็นของตัวเอง 

อาการออทิสติก (Autistic spectrum Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทและพัฒนาการรูปแบบหนึ่งโดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ภาษา และการสื่อสาร มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ รีวิวซรี่ย์เกาหลีแนะนำ

5

ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีระดับการเรียนรู้ที่แตกต่างและหลากหลายมาก ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับที่  1 เรียนรู้ได้ดี มีจุดเด่น หรือมีความสามารถพิเศษ ประกอบอาชีพต่าง ๆ และใช้ชีวิตแทบไม่แตกต่างจากคนทั่วไป ระดับที่ 2 ทำสิ่งต่าง ๆ ขั้นพื้นฐานได้

ทำงานที่เป็นระบบชัดเจนขั้นตอนไม่ยุ่งยากมากได้ และระดับที่  3 มีอาการค่อนข้างรุนแรงเช่นมีข้อจำกัดเรื่องการพูด การสื่อสาร หรือบางกลุ่มจะควบคุมตัวเองไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องอารมณ์ที่ขึ้น ๆ ลง ๆ อาจจะมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ เช่นการเล่นมือ กระตุ้นตัวเอง เขย่งเท้า เป็นต้น 

“อูยองอูมีอาการในระดับที่ 1 และอยู่ในกลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง (High Functioning Autism) ซึ่งจะมีระดับสติปัญญาปกติ หรือสูงกว่าปกติ

อย่างไรก็ตามก็ยังมีลักษณะร่วมกันของทุกระดับคือขาดทักษะในการเข้าสังคม การปรับตัว การยอมรับและเข้าใจอารมณ์คนอื่น สังเกตได้ว่าเขาจะไม่มองสบตา หรือมองแว่บนึง แล้วจะหลุดออกมานี่เป็นจุดที่คล้ายกัน” อ.ชูศักดิ์ อธิบาย 

รีวิว อูยองอู ทนายอัจฉริยะ ออทิสติกฝึกได้

นอกจากนี้ในซีรีส์ยังเผยให้เห็นจุดร่วมหลายๆ อย่างผ่านฉากและพฤติกรรมของตัวละครเช่น การกินอาหารซ้ำๆ  การเคลื่อนไหวที่ไม่ค่อยสอดคล้องกันอย่างเช่นในฉากที่อูยองอูเดินเข้าประตูหมุน

การรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่ไวกว่าคนปกติอย่างที่ตัวละครมักใส่หูฟังกันเสียงรบกวนจากภายนอก หรือการสัมผัสอย่างแผ่วเบาก็อาจทำให้ผู้มีภาวะออทิสซึมรู้สึกวูบวาบมากกว่าปกติ 

ปัจจุบันมูลนิธิออทิสติกไทยพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคมให้กับเด็กที่ภาวะออทิสซึม และมีโปรแกรมการฝึกที่มูลนิธินับสิบโปรแกรม รวมถึงโปรแกรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อดูแลลูกหลาน 

ปัจจุบันทางมูลนิธิฯ พัฒนาศักยภาพให้บุคคลที่มีภาวะออทิสซึมได้เข้าทำงานได้ปีละ 70-80 คน หนึ่งในนั้นคือ หมี ศิริศักดิ์ วิวัฒนะ เขาพบว่าตัวเองมีภาวะออทิสซึมตอนอายุ 27 ปี 

“ผมเรียนโรงเรียนปกติมาตลอดแต่เปลี่ยนโรงเรียนบ่อย เพราะเข้ากับเพื่อนไม่ได้และผลการเรียนต่ำ จึงตัดสินใจเลิกเรียนช่วงมัธยมปลาย ช่วงนั้นครอบครัวเริ่มสังเกตว่าผมชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เลยใปหาหมอ เขาวินิจฉัยว่าผมเป็นออทิสติก” ซีรี่ย์Netflixน่าดู

6

หมีเล่าว่าเขามักดูหนังเรื่องเดิมๆ และกินอาหารอย่างผัดกะเพราแทบทุกมื้อ ไม่ชอบอ่านหนังสือ นอกจากเรื่องที่สนใจอย่างเทคโนโลยี 

เขาเริ่มเข้าสู่โปรแกรมการฝึกของมูลนิธิ และกลับเข้าเรียนโดยจัดระบบการศึกษาให้เหมาะกับผู้มีภาวะออทิสซึมจนจบม.6 และได้เข้าทำงานเป็นพนักงานไอทีของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเจ้าหนึ่ง ปัจจุบันในวัย  42  ปี  เขากำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

“ก่อนหน้านี้ที่จะได้รับการฝึก ผมไม่เป็นอะไรสักอย่าง ไม่รู้จักการวางตัว พูดซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้เรื่อง จนทุกวันนี้ทำเป็นในสิ่งที่เคยทำไม่ได้” 

 

บทสรุปของหนัง

vjานมาถึงตรงนี้แล้วคงทราบกันดีว่าซีรี่ส์เรื่องนี้ตั้งใจชูให้เห็นถึงความงดงามของผู้ที่มีภาวะออทิสติกสเปกตรัมว่าพวกเขาไม่ใช่ผู้บกพร่องแต่อย่างใด ทว่าพวกเขาคือความพิเศษที่เผยความคิดในแบบฉบับของตัวเองให้ออกมาอย่างซื่อตรงและบริสุทธิ์มากกว่าคนอื่นๆ บางคนที่คิดแต่จะสร้างเรื่องเสียอีก

ตัวละครอูยองอูแสดงให้เห็นว่าถึงโลกนี้จะใจร้ายและตัดสินว่าเธอคงไม่มีศักยภาพมากพอเทียบเท่าคนอื่น แต่ความงดงามภายในตัวของอูยองอูทั้งความสามารถและกระบวนการความคิดที่แยบยล

7

กลับกลายเป็นบทพิสูจน์ที่จะเปลี่ยนคำพูดพล่อยๆ ของคนให้เป็นคำชื่นชมแทน ต้องมาตามลุ้นกันแล้วว่าอูยองอูจะงัดวิธีใดที่เกินคาดมาไขปริศนาในการว่าความให้ชนะคดีในชั้นศาล และเธอจะเปลี่ยนใจกลุ่มคนที่ยังอคติให้เททั้งหน้าตักมายอมรับเธอในบทบาทของทนายความได้หรือไม่ ติดตามกันต่อที่สตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ได้แล้ววันนี้ 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *